ชนิดของขนมไทย

ชนิดของขนมไทย

ขนมหวานไทย หมายถึง อาหารชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นอาหารที่รับประทานตามหลังของคาว เช่น ในอาหารมื้อกลางวันมีก๋วยเตี๋ยวไก่เป็นของคาว ผู้รับประทานอาจจะรับประทานทับทิมกรอบเป็นของหวาน เป็นต้นเมื่อบริโภคอาหารมื้อสำคัญ ๆ เช่น มื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็น ควรบริโภคทั้งของคาวและของหวาน สิ่งที่ใช้เป็นของหวานอาจเป็นขนมหรือผลไม้ก็ได้นอกจากจะรับประทานขนมหวานหลังของคาว เราอาจรับประทานขนมหรือขนมหวานในเวลาที่มิได้รับประทานอาหารคาว แต่จะรับประทานขนมหรือขนมหวานเป็นของว่าง หรือรับประทานขนมหวานกับเครื่องดื่ม

ขนมหวานไทย จะมีความหวานนำ หรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทานการทำขนมหวานไทยเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและฝึกฝน ต้องใช้ศิลปะ วิทยาศาสตร์และความอดทน และความเป็นระเบียบ ความพิถีพิถันในการประกอบ ขนมไทยแท้ ๆ ต้องมีกลิ่นหอม หวาน มัน มีความประณีต ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเตรียมส่วนผสม จนกระทั่งวิธีการทำ

ขนมไทย สามารถจัดแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ตามลักษณะของเครื่องปรุง ลักษณะกรรมวิธีในการทำ และลักษณะการหุงต้ม คือ

1. ขนมประเภทไข่ เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ฯลฯ

2. ประเภทนึ่ง เช่น ขนมชั้น ขนมสาลี่ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมทราย ฯลฯ

3. ขนมประเภทต้ม เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มันต้มน้ำตาล ฯลฯ

4. ขนมประเภทกวน เช่น ขนมเปียกปูน ซ่าหริ่ม ขนมตะโก้ ฯลฯ

5. ขนมประเภทอบและผิง เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมบ้าบิ้น ขนมหน้านวล ฯลฯ

6. ขนมประเภททอด เช่น ขนมกง ขนมฝักบัว ขนมสามเกลอ ฯลฯ

7. ขนมประเภทปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ

8. ขนมประเภทเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ

9. ขนมประเภทฉาบ เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ

10. ขนมประเภทน้ำกะทิ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ

11. ขนมประเภทน้ำเชื่อม เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ

12. ขนมประเภทบวด เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดเผือก ฯลฯ

13. ขนมประเภทแช่อิ่ม เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะเขือเทศแช่อิ่ม สะท้อนแช่อิ่ม ฯลฯ

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

ประวัติและความสำคัญของขนมไทย

สมัยสุโขทัยขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ คือ
จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย
สมัยอยุธยา เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง
หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า” “ท้าวทองกีบม้า”หรือ “มารี กีมาร์” เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ “ฟานิก (Phanick)” เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ “อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)” ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนัก ชีวิตช่วงหนึ่งของ “ท้าวทองกีบม้า” ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า” จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ “ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย”

วิธีทำขนมไทยต่างๆ

ลูกชุบ ส่วนผสม – ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1 1/3 ถ้วยตวง – น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง – หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง – วุ้นผง 1 ช้อนโต๊ะ – น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง วิธีทำ 1.แช่ถั่วเขียวประมาณ 1-2 ชั่วโมง นึ่งให้สุกนุ่ม แล้วบดให้ละเอียด 2.หัวกะทิตั้งไฟอ่อนๆ ใส่นำตาลทรายลงเคี่ยวให้นำตาลละลายหมด ใส่ถั่วลงกวนกับกะทิตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้แห้งจนถั่วล่อนออกจากกระทะ 3. เทถั่วที่กวนได้ที่แล้วลงในถาดหรือชามพักไว้ให้เย็น 4. ปั้นถั่วเป็นรูปผลไม้เล็กๆ ตามต้องการ แล้วระบายสีผลไม้ที่ปั้นไว้ให้เหมือนจริงพักไว้ให้สีแห้ง 5. ผสมผงวุ้นกับน้ำเปล่าใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ จนวุ้นละลายหมดยกลง วางพักไว้สักครู่ 6.นำผลไม้ที่ระบายสีไว้ ชุบวุ้นให้ทั่ว พักไว้ให้แห้งแล้วชุบอีก 2 ครั้ง ปล่อยให้แห้งจึงนำไปตกแต่งให้สวยงาม
มะพร้าวแก้ว ส่วนผสม – มะพร้าวทึนทึก ขูดฝอย 3 ถ้วยตวง – น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง – น้ำดอกไม้ 1/2 ถ้วยตวง – เกลือป่น 1/8 ช้อนชา วิธีทำ 1.ใส่น้ำตาลทรายลงในกระทะใส่น้ำลอยดอกไม้ ตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยว จนน้ำตาลละลายและเหนียวใสเป็นยางมะตูม 2.ใส่มะพร้าวที่ขูดไว้แล้วลงในน้ำเชื่อมที่เคี่ยวไว้ คนให้น้ำตาลจับเส้นมะพร้าวให้ทั่ว เคี่ยวจนนำเชื่อมแห้งยกลงจากเตา 3.ตักมะพร้าวให้เป็นก้อนกลม วางลงบนถาดแล้วผึ่งให้แห้ง เก็บใส่ขวดโหล สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน หมายเหตุ 1. ถ้าต้องการให้ขนมมีหลายสีก็เติมสีลงในนำเชื่อมก่อนใส่มะพร้าวลงคลุก 2.ถ้าใช้มะพร้าวอ่อนควรเพิ่มปริมาณน้ำตาลให้มากขึ้นกว่าการใช้มะพร้าวแก่
ทองหยิบ ส่วนผสม – ไข่เป็ด 10 ฟอง – น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง – น้ำลอยดอกไม้ 2 ถ้วยตวง วิธีทำ 1. ผสมน้ำลอยดอกไม้ น้ำตาลทราย เคี่ยวให้เป็น้ำเชื่อม สำหรับหยอด 2. แยกไข่ขาวและไข่แดงใช้แต่ใข่แดงตีให้ขึ้นฟูจนไข่เปลี่ยนเป็นสีนวล 3.ตักไข่หยอดใส่ในน้ำเชื่อม ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ให้ไข่เป็นแผ่น หยอดให้เต็มกระทะ รอให้ไข่สุก ตักแผ่นไข่ที่หยอดไว้ใส่ถาดใช้มือจับเป็นจีบ ตามต้องการ แล้วหยิบใส่ถ้วยตะไล รอให้เย็นแล้วจึงแคะออกจากถ้วยตะไล หมายเหตุ 1.เวลาตักไข่หยอดลงในน้ำเชื่อม ต้องให้น้ำเชื่อมนิ่งเพื่อไข่ที่หยอดจะได้ไม่แตก 2.ถ้าใช้ไข่ไก่ผสมด้วยเนื้อขนมจะนุ่มขึ้นแต่สีที่ได้จะอ่อนลง
ทองหยอด ส่วนผสม – ไข่เป็ด 20 ฟอง – แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง – น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง – น้ำลอยดอกไม้ 5 ถ้วยตวง วิธีทำ 1. แยกไข่แดงและไข่ขาออกจากกัน ใช้แต่ไข่แดงตีให้ไข่แดงฟูขึ้นมากๆ แล้วใส่แป้งข้าวเจ้าคนเร็วๆให้เข้ากัน 2. ผสมน้ำลอยดอกไม้กับน้ำตาลทรายตั้งไฟแรงให้น้ำตาลเดือดพล่านเคี่ยวประมาณ 10-20 นาทีให้น้ำเชื่อมข้น แบ่งส่วนหนึ่งไว้สำหรับแช่ทองหยอดที่สุกแล้วส่วนที่เหลือตั้งไฟไว้สำหรับหยอดทองหยอด 3.ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางตักแป้งและใช้นิ้วหัวแม่มือสะบัดแป้งลงในกระทะที่ตั้งน้ำเชื่อมไว้ททำวิธีนี้จนเต็มกระทะ พอแป้งสุกลอยตัวตักขึ้นพักไว้

ฝอยทอง ส่วนผสม – ไข่เป็ด 5 ฟอง – ไข่ไก่ 5 ฟอง – น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง – น้ำดอกไม้ 2 ถ้วยตวง – ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ วิธีทำ 1. ต่อยไข่แยกเอาไข่แดงไว้ แล้วผสมไข่แดงของไข่เป็ดและไข่ไก่เข้าด้วยกัน ใส่ไข่น้ำค้างลงในไข่แดง 2.คนไข่ให้เข้ากันอย่าให้เป็นฟอง แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้ไข่แดงเข้ากันดี 3.ผสมน้ำตาลทรายน้ำดอกไม้เข้าด้วยกันในกระทะทองตั้ง 4.ใช้กรวยใบตองหรือกรวยทองเหลือง โรยไข่ลงบนที่เชื่อมเป็นเส้นวน ไปรอบๆ ประมาณ 10-20 รอบหรือตามต้องการ พอไข่สุกประมาณ 1 นาที ใช้ไม้แหลมสอยขึ้น แล้วพับให้เป็นแพหรือพับให้เป็นคำตามต้องการ

ขนมตาล ส่วนผสม – ลูกตาลสุก 1 ผล – ข้าวสารเก่า 2 ถ้วยตวง – แป้งท้าวยายม่อม 1/4 ถ้วยตวง – น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง – หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง —– มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 2 ถ้วยตวง – เกลือป่น 1 ช้อนชา วิธีทำ 1. ลอกเปลือกลูกตาลออกให้หมด ขูดเอาเนื้อสีเหลืองออก ตัวลูกตาลแช่น้ำไว้จนเนื้อลูกตาลละลายออกหมด ใช้ผ้าห่อเนื้อลูกตาล และน้ำที่ละลายผูกมัดปากรวมไว้ให้แน่นแขวนหรือทับไว้ให้แห้ง 2. โม่ข้าวสารที่แช่น้ำไว้ให้ละเอียด แล้วทับให้แห้ง 3. ผสมข้าวสารที่โม่และทับจนแห้งแล้ว รวมกับแป้งท้าวยายม่อม และลูกตาลที่ทับจนแห้งแล้วนวดส่วนผสมทั้งหมด เข้าด้วยกันจนแป้งที่ผสมเนียนและนุ่มมือ(ประมาณ 30-60 นาที)ใส่น้ำตาลสลับกับหัวกะทิ นวดจนหัวกะทิและน้ำตาล ละลายหมด พักไว้ประมาณ 5-10 ชั่วโมง 4. ตักแป้งที่ผสมแล้วใส่กระทงหรือถ้วยตะไล โรยมะพร้าว แล้วนึ่งให้สุกยกลงถ้าใส่ถ้วยตะไลรอให้เย็นก่อนแล้วจึงนำออกจากถ้วยจัดใส่ภาชนะ
เม็ดขนุน ส่วนผสม – ถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก 2 ถ้วยตวง – หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง – น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง – น้ำลอยดอกไม้ 5 ถ้วยตวง – น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง – ไข่เป็ด 10 ฟอง วิธีทำ 1. บดถั่วเขียวให้ละเอียดใส่หัวกะทิ และน้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง คนให้เข้ากัน ใส่กระทะทองตั้งไฟกวน ให้เหนียวสามารถปั้นได้ ยกลงพักไว้ให้เย็นแล้วปั้นเป็นเม็ดกลมๆรีๆให้มีลักษณะเหมือนเม็ดขนุน 2.ต่อยไข่แล้วแยกไข่ขาวออกใช้แต่ไข่แดงตีให้เข้ากันปิดฝาไว้ไม่ให้ไข่แห้ง 3.ผสมน้ำลอยดอกไม้ 5 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง ใส่กระทะทองตั้งไฟให้น้ำตาลละลาย เคี่ยวต่อให้น้ำเชื่อมเหนียว ข้นขึ้นแบ่งใส่ชามไว้ส่วนหนึ่ง 4.จิ้มเม็ดถั่วลงในไข่แดงแล้วหยอดลงในกระทะน้ำเชื่อมพอไขแดงสุกดีแล้วใช้ทัพพีโปร่งตักขึ้นใส่ในชามน้ำเชื่อม ทำจนหมดถั่วที่ปั้นไว้
ขนมถ้วยฟู ส่วนผสม – แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง – น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง – น้ำลอยดอกไม้ 1/2 ถ้วยตวง – ยีสต์ 1 ช้อนชา – ผงฟู 1 ช้อนชา วิธีทำ 1. ใส่ยีสต์ลงไปในแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากัน ใส่น้ำลอดอกไม้ทีละน้อน นวดจนแป้งนิ่มเนียน 2. ใส่น้ำตาลและน้ำทั้งหมดลงในแป้ง ใส่ผงฟู นวดต่อไป ปิฝาครอบไว้ 1-2 ชั่วโมง 3. เรียงถ้วยตะไลลงในรังถึงนึ่งในน้ำเดือดจนถ้วยร้อนประมาณ 5 นาที 4. ตักขนมที่ผสมไว้ลงในถ้วยตะไลพอเต็มปิดฝานึ่งให้สุกประมาณ 10-15 นาที ยกลงพักไว้ให้เย็น แล้วจึงแกะออกจากถ้วย
รังนก ส่วนผสม – มันเทศ 500 กรัม – น้ำมันพืช 3 ถ้วยตวง – น้ำตาลปีบ 500 กรัม – แบะแซ 1 ช้อนโต๊ะ – น้ำ 1 ถ้วยตวง วิธีทำ 1. มันเทศปอกเปลือกออกหั่นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กตามยาว แช่น้ำปูนใส แล้วล้างให้สะอาด ใส่กระชอนผึ่งให้สะเด็ดน้ำ 2. ตั้งกระทะให้ร้อนใส่น้ำมันตั้งไฟ พอน้ำมันร้อนใส่มันลงทอดทีละน้อย ให้กรอบเหลือง แล้วตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ 3. กระทะทองตั้งไฟใส่น้ำตาล ใส่น้ำ แบะแซลงเคี่ยวจนเหนียว ใสมันทอดลงไปเคล้าให้ทั่วยกกระทะลง 4. แบ่งมันที่คลุกน้ำตาลไว้แล้วเป็นก้อนกลมพักไว้ให้อยู่ตัวจัดใส่ภาชนะ

เทคนิคการทำขนมไทย

เทคนิคในการทำขนมหวานไทย

การทำขนมหวานไทยให้ดี ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง คือ ต้องมีใจรัก ชอบทำมีความอดทนตั้งใจมีความพิถีพิถันในการประดิษฐ์ให้ขนมมีรูปร่างที่น่ารับประทาน ขนมหวานไทยบางชนิดต้องฝึกทำหลาย ๆ ครั้งจึงจะได้ลักษณะที่ดีประสบการณ์ และความชำนาญในการทำบ่อย ๆ ผู้ประกอบขนมหวานไทย จะประสบความสำเร็จในการทำ การทำขนมหวานไทยของคนรุ่นก่อนๆ จะใช้การกะส่วนผสมจากความเคยชินที่ทำบ่อย ๆสัดส่วนของขนมจะไม่แน่นอน และยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้กันเฉพาะภายในครอบครัวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันขนมหวานไทยได้วิวัฒนาการให้ทัดเทียมกับขนมนานาชาติ มีสูตรที่แน่นอน มีสัดส่วนของส่วนผสม และวิธีทำที่บอกไว้อย่างชัดเจน ผู้ประกอบขนมหวานไทยเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานในการชั่ง ตวง มีถ้วยตวงช้อนตวง ใช้ภาชนะให้ถูกต้องกับชนิดของอาหาร เช่น การกวนจะใช้กระทะทองดีกว่าหม้อหรือกระทะเหล็ก การทอดใช้กระทะเหล็กดีกว่ากระทะทอง ทำตามตำรับวิธีทำขั้นตอน อุณหภูมิที่ใช้ในการทำ ตลอดจนเลือกเครื่องปรุงที่ใหม่ ฉะนั้นการทำขนมหวานไทย ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ

1. อุปกรณ์ในการทำขนม

2. เครื่องปรุงต่าง ๆ

3. เวลา

4. สูตร เครื่องปรุง และวิธีการทำขนม

5. ชนิดของขนม

6. วิธีการจัดขนม

ภาพขนมไทย

This slideshow requires JavaScript.

ความหมายดีๆของขนมไทย

ความหมายดีๆของขนมไทย

ขนมหวานของไทยนั้นมีทั้งรสชาติหวาน และกลิ่นหอมที่ได้จากเทียนอบ มีรูปลักษณ์อันงดงามอันเกิดจากการประณีตบรรจง ประดิษฐ์ ให้อาหารทั้ง สวย น่ารับประทาน ในการมอบของขวัญที่ทำจากขนมไทยในงานเทศกาลต่างๆนั้น ล้วนแต่มีความหมายแฝงทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งผู้ให้และผู้รับได้รับความเป็นศิริมงคลโดยทั่วกัน โดยมีความหมายที่ดีดังนี้

การเลื่อนตำแหน่ง

ขนมจ่ามงกุฎ การยกย่องกันที่สุดเห็นจะได้แก่การมอบขนมจ่ามงกุฎให้เนื่องจากคำว่า “จ่า” แปลว่าหัวหน้า ส่วนคำว่า “มงกุฎ” สื่อถึงพระราชาหรือผู้เป็นใหญ่ ดังนั้น จ่ามงกุฎจึงหมายถึงหัวหน้าผู้เป็นใหญ่ ดังนั้นจ่ามงกุฎจึงหมายถึงหัวหน้าผู้เป็นใหญ่ ความหมายสูงส่งอย่างนี้ เมื่อบวกกับการทำที่แสนยาก อีกทั้งยังต้องใช้ศิลปะในการทำค่อนข้างสูง จ่ามงกุฎจึงถูกมอบให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงจริง ๆ เท่านั้น

ขนมชั้น หมายถึง ความเจริญเป็นชั้นที่สูงขึ้น ๆ

ขนมถ้วยฟู หมายถึง ความเจริญฟูเฟื่อง

ขนมทองเอก หมายถึง ชีวิตที่เป็นหนึ่งตลอดกาล

ขนมทองพลุ หมายถึง ความเจริญ มีชื่อเสียงโด่งดัง เหมือนพลุ

ขนมลูกชุบ หมายถึง ความน่ารักน่าเอ็นดู ซึ่งมักจะเป็นผู้ใหญ่ให้ผู้น้อย

ขนมมะพร้าวแก้วหรือข้าวเหนียวแก้ว ที่สื่อถึงแก้วอันประเสริฐ

ขนมเสน่ห์จันทร์ ที่หมายถึงความมีเสน่ห์ดุจดั่งดวงจันทร์วันเพ็ญ

ขนมตาล ที่หมายถึงชีวิตที่หวานราบรื่น